วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

The Silent Way



                วิธีการสอนแบบ The Silent Way  ถูกพัฒนาขึ้นโดย Caleb Gattegno ใน ค.ศ.1963 โดยเขได้กล่าวไว้ว่า “การสอนควรสำคัญน้อยกว่าการเรียนรู้” การสอนวิธีนี้มีลักษณะสำคัญดังนี้
                -การเรียนการสอนจะง่ายขึ้นถ้าผู้เรียนค้นพบและสร้างสิ่งจะเรียนขึ้นมา
                -การเรียนจะง่ายขึ้นถ้ามีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสื่อที่เรียน
                -สอนการออกเสียงสระ/พยัญชนะโดยใช้แผนผังเสียง-สี
                -สอนการออกเสียงคำศัพท์โดยใช้ “rod”
                -สอนประโยคโดยวาง”rod”วางต่อกัน
                -ฝึกโดยใช้แผนผังเสียง-สี

Audio-lingual Method (ALM)



                การสอนภาษาอังกฤษแบบ Audio-lingual Method (ALM) เกิดจากวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของทหารอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ.1950s ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
-                   สื่อการสอนเป็นบทสนทนา ทั้งแบบที่เป็นในแบบเรียนและที่ครูให้นักเรียนนำมาประยุกต์ใช้
-                   การเรียนการสอนยังต้องพึ่งพาการท่องจำ, การเขียน
-                   สอนไวยากรณ์แบบอุปนัย
-                   โครงสร้างประโยคสอนโดยการใช้กล่าวซ้ำๆ
-                   เน้นการออกเสียงให้ถูกต้อง
-                   ครูใช้กาษาแม่เล็กน้อย

The Direct Method



                การสอนแบบ The Direct Method มีลักษณะดังนนี้
-ไม่อนุญาตให้ใช้ภาษาแม่ โดยจะใช้เฉพาะภาษาเป้าหมายในการเรียนการสอนเท่านั้น
-การพูดปากเปล่าจะได้รับการพัฒนาโดยการถามตอบระหว่างครูและนักเรียน
-สอนคำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมผ่านการสาธิตสิ่งของหรือรูปภาพนั้นๆ
-สอนไวยากรณ์แบบอุปนัย(สอนด้วยประโยค/บทความก่อนแล้วจึงสอนโครงสร้าง/คำศัพท์)
 -เน้นทักษะการพูดและการออกเสียงที่ถูกต้อง

The Grammar Translation Method



                การสอนโดยเน้นโครงสร้างทางไวยากรณ์นี้เป็นการสอนแบบแรกของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยการสอนแบบนี้เป็นขยายเป็นวงกว้างในศตวรรษที่19  และมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจดังนี้
-โดยการสอนในรูปแบบนี้จะเน้นกฎของการใช้ไวยากรณ์และทำแบบฝึกหัด
-เน้นความถูกต้องของโครงสร้างประโยค
-การอ่านและการเขียนจะถูกให้ความสำคัญ(การฟังและการพูดจะไม่ถูกให้ความสำคัญ)
-สอนแบบนิรนัย(สอนโครงสร้างก่อนแล้วยกตัวอย่าง/บทความทีหลัง)

การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ณ มหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้

เขียนโดย Janet S. Niederhauser, Volume35, No.1(1997)

สาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาต่ำ
1.ระบบการศึกษาที่มีเกณฑ์การจบง่ายและการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ไม่ตรงกับสิ่งที่นักเรียนได้รับ
2.นักศึกษาไม่สามารถเลือกวิชาเอกที่ตนสนใจจริงๆได้ เพราะขึ้นอยู่กับผลคะแนนเอนทร้านซ์ว่าจะได้เรียนในสาขาใด
3.ประเด็นนี้นับว่าเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลอย่างมากนั้นก็คือเรื่องเพศ เพราะผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอกส่วนมากคือผู้หญิง และเมื่อออกไปทำงานโอกาสในการได้รับสวัสดิการต่างๆของผู้หญิงก็ยังคงมีน้อย และที่สำคัญหลังเรียนจบผู้หญิงจะโดนครอบครัวกดดันให้แต่งงานหลังเรียนจบทันที

      ด้วยสาเหตุหลักๆที่ได้กล่าวมาแล้วทำให้นักเรียนมีอคติแก่การเรียนภาษาอังกฤษ บางคนเรียนภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมา6ปี ก็ยังคงไม่สามารถสนทนาหรือเขียนประโยคภาษาอังกฤษแบบง่ายๆได้ เพราะว่าครูส่วนใหญ่ก่อนหน้านั้นยังคงชอบใช้วิธีการสอนแบบGrammar Translation และยึดครูเป็นศูนย์กลางฉะนั้นจึงไม่ค่อยมีการฝึกให้ผู้เรียนสนทนาภาษาอังกฤษ นักศึกษาปี1 มักจะโทษตัวเองว่าแย่ที่ไม่สามารถสื่อสารได้
      
ศาสตร์ในการเพิ่มแรงจูงใจของผู้เรียน
                 แม้ว่ามีหลายปัจจัยที่มีทำให้แนวโน้มทำให้แรงจูงใจในการเรียนภาษาของผู้เรียนลดลง แต่ครูผู้สอนภาในเกาหลีก็สามารถศาสตร์ต่างๆ ที่จะเพิ่มความมั่นใจในตัวเองและความสนใจในภาษาอังกฤษของนักเรียนได้  ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในแต่ละชั้นเรียนครูควรใช้เวลาเพื่อทำความรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลในตอนเริ่มต้นภาคเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อครูเจ้าของภาษาที่เพิ่งเข้ามาสอนที่เกาหลีเพราะว่าเขาจะต้องแปลกใจที่ได้รู้ว่านักเรียนที่ดูเบื่อเมื่อตอนเรียนในชั้นเรียนการสนทนาภาษาอังกฤษเบื้องต้นจริงๆแล้วเขาได้โตขึ้นในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ หรือนักเรียนอีกครึ่งหนึ่งของชั้นเรียนแท้จริงแล้วก็ไม่ได้อยากเรียนภาอังกฤษเป็นภาษาหลักแต่อย่างใด
                การช่วยนักเรียนที่จะเชื่อมต่อการเรียนภาษาเข้าสู่เป้าหมายส่วนตัวเป็นวิธีที่ดีสำหรับครูที่จะเริ่มกล่าวเพื่อเป็นประเด็นในการสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียน ทางเลือกหนึ่งก็คือให้นักเรียนกรอกแผนการในการประสบความสำเร็จของตน
                ในตอนเริ่มต้นของแต่ละปีการศึกษาครูควรใช้เวลาอธิบายวิธีกานสอนภาษาของตนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนบรรลุการเรียนในแต่ละระดับโดยการสื่อสารประโยคภาษาอังกฤษแบบง่ายๆและการสาธิตกิจกรรมในห้องเรียนแบบสั้นๆ
 เพราะนักเรียนคุ้นเคยกับการที่ครูเป็นศูนย์กลางของชั้นเรียน และการจัดกิจกรรมในห้องเรียนออกแบบมาเพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม  นักเรียนที่ได้ถูกสอนให้ฟังครูอย่างกับเป็นผู้มีอำนาจที่จะกำหนดถูกผิดการใช้ภาษา แม้ว่าครูเจ้าของภาษาจะมองว่ากิจกรรมที่ให้นักเรียนทำเป็นคู่จะเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการลดการแสดงความกังวลและเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้เรียน กระนั้นก็ยังมีนักเรียนชาวเกาหลีบางคนคิดว่าไม่ได้ผล
                การทดลองใช้กิจกรรมที่หลากหลายอาจจะช่วยครูผู้สอนหาส่วนผสมที่เหมาะสมในแต่ละชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น ครูสามารถใช้Pair-Monitor Technique เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำจำนวนมากแก่นักเรียนเกาหลีในเรื่องการใช้ภาอย่างถูกต้อง เทคนิคนี้นักเรียนคนที่สามจะได้รับการ์ดที่มีบทสนทนาเป็นคู่ทีเขียนไว้อย่างถูกต้อง นักเรียนคนที่สามจะจะแสดงเป็นพี่เลี้ยงของกลุ่มและให้คำแนะนำไปกับเพื่อนนักเรียนที่สนทนากันเป็นคู่ เนื่องจากวิธีนี้นักเรียนจะย้ายจากกลุ่มนี้ไปกลุ่มนั้นเรื่อยๆ ครูก็จะเป็นผู้ฟังการสนทนาของนักเรียน ถ้านักเรียนมีข้อผิดพลาดในการสนทนาครูก็จะช่วยแก้ไขให้การพูดที่ถูกต้องแก่นักเรียน
                ครูควรแนะนำและอธิบายกิจกรรมใหม่ๆที่จะนำมาใช้ให้นักเรียนทราบอย่างละเอียดว่าจะสามารถฝึกทักษะภาอังกฤษใดให้แก่นักเรียนได้บ้าง  ระดับของแรงจูงใจจะลดลงและระดับของความกังวลจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อนักเรียนไม่รู้ว่าพวกเขาจะทำการบ้านภาษาอังกฤษอย่างไรและทำไปทำไม  การพูดในแง่บวกเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำในลำดับต่อไปเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มแรงจูงใจ อาจจะพูดว่าฉันคิดว่าพวกเธอคงต้องสนุกกับกิจกรรมต่อไปของเราแน่ๆเลยซึ่งนั่นก็หมายความว่า คุณครูต้องมีความกระตือรือร้นเพื่อบ่งบอกว่ามันน่าจะสนุกจริงๆ ฉะนั้นแล้วนักเรียนก็จะรับความรู้สึกนั้นได้และรู้สึกอยากร่วมกิจกรรมเช่นกัน
                การสอนเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาท่าทางนับว่ามีความสำคัญมาก นักเรียนที่โตขึ้นห่างจากเมืองใหญ่ เช่น กรุงโซล ที่ไม่เคยสื่อสารกับชาวต่างชาติมาก่อนเข้าเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย ดังนั้นอาจจะเข้าใจอากัปกริยาและภาท่าทางของครูชาวตะวันตกผิด อย่างเช่น การส่งสายตาแสดงความแปลกใจหรือเหลือเชื่อเพื่อที่จะป้องกันความสับสนและความสงสัยท่ามกลางนักเรียนที่อ่านความตั้งใจของครูผิด
                การสร้างสรรค์กิจกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้ในการสื่อสารจริงจะเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนได้
                วิธีหนึ่งที่จะสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนได้นั่นก็คือ บอกข้อดีของการเรียนภาษา ว่าเรียนแล้วมีผลดีอย่างไร ภาจะทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
                การสอนภาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับภาษาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม, ธุรกิจและอื่นๆที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้มากกว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับไวยากรณ์และสุนทรียภาพของวรรณคดีที่บางครั้งสอนเป็นภาษาแม่ด้วยซ้ำ
                สำหรับประสบการณ์ของผู้เขียน(Janet S. Niederhuser) การนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมมาสอนภาษา คือ วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มแรงจูงใจ ในสังคมที่มีความขัดแย้งกันระหว่างเสรีนิยมและชาตินิยมยังคงเป็นปัญหา ดังนั้นคนรุ่นใหม่จำนวนมากจึงภาคภูมิที่เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของคนในประเทศอื่นๆและมาแลกเปลี่ยนแนวคิดกับครูได้
                ฉะนั้นแล้วการที่จะเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้เรียนในการเรียนภาอังกฤษมิเพียงแต่การฝึกบทสนทนาที่ใช้ในสถานการณ์จริงได้เท่านั้น แต่ควรให้นักเรียนมีความประทับใจในวัฒนธรรมของประเทศเจ้าของภาษาอังกฤษด้วย ทั้งการเรียนภาษาศาสตร์และทักษะทางวัฒนธรรมไปพร้อมๆกันจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการใช้ภาษาได้

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทบาทของการประเมินผลในการสอนภาษา

โดย Jerrold Frank,Volume50,No.3,2012
ก่อนที่การเรียนการสอนจะเริ่มขึ้นครูต้องตัดสินใจให้ได้ว่าจะตั้งจุดมุ่งหมายในการวัดผลและพิจารณาบทบาทในการประเมินว่าจะดำเนินอย่างไรในการสอน ซึ่งการประเมินนี้เป็นการระบุความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน, จดบันทึกพัฒนาการการเรียนรู้, และกำหนดว่าครูจะทำอย่างไรในฐานะผู้สอนและนักวางแผน  ในการประเมินผลนี้มีบทความอยู่สามบทความที่มีมุมมองในการประเมินที่แตกต่างกันสามารถบรรยายหัวข้อนี้ได้ดี 
                วิธีการโดยทั่วไปในการวัดความสำเร็จและความสามารถในการเรียนภาษาคือแบบทดสอบ  แม้ว่ารูปแบบการประเมินแบบหลายตัวเลือกจะได้รับความนิยมแต่ครูส่วนใหญ่ยังคงใช้รูปแบบนี้เป็นแบบสำรอง 
                บทความที่สอง “Coming to Grips with Progress Testing: Some Guidelines for its Design” (Carmen Perez Basanta, 1995) ว่าด้วยเรื่องบทบาทของแบบทดสอบพัฒนาการการเรียนรู้ในห้องเรียนและความสำคัญของการเลือกการทดสอบที่เหมาะสมต่อการสอน ซึ่งการทดสอบเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ครูทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียนและประเมินประสิทธิภาพ ในบทความBasantaได้ชี้แจงทฤษฏีสำคัญที่ทำให้ครูมั่นใจได้ว่าจะออกแบบหรือเลือกแบบทดสอบที่ใช้ได้จริง, น่าเชื่อถือ, และมีเหตุมีผลอย่างไร
                ไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการสร้างแบบประเมินหลายตัวเลือกขึ้น ครูควรให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนนักเรียนเรียนว่าเรียนรู้ในสิ่งที่ครูได้พยายามสอนไปได้ดีแค่ไหน ในวิธีประเมินในแบบที่สาม “Purposeful Language Assessment: Selecting the Right Alternative Test” (John Norris, 2000) ได้มีประเภทคำถามที่เหมาะสมกับการประเมินเทคนิคสู่การเลือกเนื้อหาการสอนภาษาที่เหมาะสมต่อผู้เรียนของครู
                การประเมินอาจจะเป็นหนึ่งในส่วนที่ยากและสำคัญที่สุดของอาชีพความเป็นครู  ซึ่งการประเมินเป็นส่วนช่วยในการนำนักเรียนสู่การเรียนรู้ที่เหมาะสม  ไม่มีกระบวนการเดียวที่สามารถรู้ความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ดังนั้นครูควรใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายที่ช่วยให้นักเรียนรู้ว่าพวกเขาจะพัฒนาได้อย่างไรและช่วยให้ครูประเมินประสิทธิของกระบวนการและวัสดุในการสอนอีกด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Teaching Listening Skills to Young Learners through "Listen and Do" Songs

โดย Mustafa Sevik,Volume50, No.3,2012
การพัฒนาทักษะการฟังเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของหลักสูตรESL/EFLของเด็กเล็ก  ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษผ่านเพลงเป็นการฝึกภาษาอังกฤษที่ใช้ในสถานการณ์จริง การร่วมมือกันของนักเรียนทั้งชั้นเรียน และใช้การเคลื่อนไหวร่างกายทำให้ผู้เรียนเกิดคววามสนุกสนานมากขึ้น อีกทั้งเพลงได้ถูกพิจารณาแล้วว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ได้ผลดีที่สุดในทักษะการฟัง  เพลงเป็นกิจกรรมที่มีความหมายและสนุกสนานในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการฟัง สิ่งที่คาดหวังในการเรียนก็คือให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการฟังเพลงมากขึ้นจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังที่ดีขึ้น  และมีมุมมองในการเรียนภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Reading Logs: Integrating Extensive Reading with Writing Tasks

โดย Tatiana Lyutaya,No.1, 2011
การอ่านสามารถเป็นกิจกรรมที่น่าประทับใจได้ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ(EFL)   หัวใจสำคัญของการเรียนคือ ทำตามหลักการของการอ่านมีดังนี้:
 1 นักเรียนเลือกหนังสือที่ตนสนใจ
 2.นักเรียนอ่านหนังสือตามระดับความรู้ของตน  
 3.นักเรียนไม่ยอมให้คำศัพท์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนมาทำลายความสุขในการอ่านไปได้
การพัฒนาการอ่านวรรณกรรมเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการเรียนภาษาอังกฤษ และเมื่อได้เรียนควบคู่ไปกับงานเขียนในรูปแบบของล็อก นักเรียนจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในกลยุทธ์การอ่าน, ส่วนประกอบ ต่างๆในงานเขียนและภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น ความสำเร็จในการการอ่านอย่างครอบคลุมนี้จะเผยแพร่ให้เห็นในล็อกโดยมีความเข้าใจตัวละคร รายละเอียดของเนื้อเรื่อง และผลสะท้อนว่าเรื่องที่อ่านมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ของนักเรียนเองหรือไม่ อย่างไร จากการการเชื่อมโยงกันของอ่านวรรณกรรม นักเรียนจะได้แรงบรรดาลใจให้ความคิดเห็นและอยากแต่งเรื่องของตนเอง ดังนั้นนักเรียนจะได้ความมั่นใจในฐานะนักอ่าน นักเขียน และ ผู้เรียนอิสระ  การอ่านอย่างครอบคลุมนี้จะให้โอกาสนักเรียนไม่เฉพาะแต่ความเข้าใจว่าจะเรียนอย่างไรแต่ยังให้นักเรียนมีส่วนร่วมเรียนรู้อย่างจริงจังอีกด้วยเช่นกัน
(แปลจากบทความของ Tatiana Lyutaya, Forum,p.26-34)