วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

What is the study like?


What is the study like?
จุดประสงค์คือการให้โอกาแก่นักเรียนที่จะดึงความสามารถและพัฒนาทักษะทางการสื่อสารออกมา ซึ่งจะมีเน้นย้ำมากในเรื่องการใช้สื่อผสมและการใช้Power Point และต้องบูรณาการเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์สู่การฝึกทักษะต่างๆ ทางภาษา  บรรยากาศห้องเรียนแบบCALLนั้น ครูจะจัดตั้งระบบE-Learningไว้ ผู้เรียนจะต้องแจ้งงาน,  ดูแล้วแสดงความคิดเห็น ตรวจทาน ในรายงานของกลุ่มอื่นๆ, การใช้จดหมายอิเล็กซ์ทรอนิกส์, การสนทนาออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จะได้รับอย่างมากมายกว่าแหล่งข้อมูล

What are the principles and factors for applying?


What are the principles and factors for applying?
การสร้างแรงจูงใจ              
1. ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
                2. ทำให้นักเรียนมีทักษะในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
                3. กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
บทบาทพิเศษของการสอน    
1. ช่วยให้นักเรียนพบและแก้ไขปัญหา
                2. เพื่อหาความสามารถเฉพาะด้านในการเรียนรู้ของนักเรียน
3.ช่วยนักเรียนในการเชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลและแหล่งข้อมูลทางการศึกษา

ส่งเสริมกลวิธีในการสอนแบบใหม่
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2.ร่วมกันใช้และแบ่งปันความสามารถทางสติปัญญา
3. การแก้ไขปัญหา
ดึงความสามารถในการผลิตของครูออกมา
                1.จัดการกับภาระงานที่หนัก
                2.ประหยัดเวลาในการออกแบบหลักสูตร

What are trends in educational technology?


What are trends in educational technology?
-คอมพิวเตอร์มีใช้อย่างทั่วถึงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาที่สูงขึ้น และนักเรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถเข้าถึงการใช้คอมพิวเตอร์ได้
-นักเรียนเข้าถึงการรับแหล่งข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง
-เทคโนโลยีทางการศึกษาได้ขยายวงกว้างไปยังบ้านและชุมชน
-ครูต้องผู้ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
-เน็ตเวิร์กเป็นระบบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
-มีนโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เพิ่มขึ้น
-อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ๆได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
-เทคโนโลยีทางการศึกษาได้เปรียบเสมือนพาหนะในการขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Computer Assisted Language Learning (CALL) in Each Phases

CALL หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการสอนภาษา มีวิวัฒนาการการพัฒนาออกเป็น3 ยุคหลักๆ ดังต่อไปนี้
1.Behaviorist CALL เป็นยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งการใช้อย่างแพร่หลายในราวคริสตศักราช 1960 และ 1970 การเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบของการฝึกซ้ำๆ ภายใต้หลักการของการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับทฤษฏีทางพฤติกรรมในการเรียนรู้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ก็มีฮาร์ดแวร์พิเศษเฉาะ อันได้แก่ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับแบบฝึกหัด คำอธิบายไวยากรณ์อย่างย่อ และข้อสอบการแปล
2.Communicate CALL ขึ้นอยู่กับทฤษฏีการสอนแบบ Communicative Teaching Approaches เริ่มต้นขึ้นราวคริสตศักราช1970และต้นคริสตศักราช1980 การสอนในรูปแบบนี้นั้นเน้นการส่งเสริมการสนทนาในสถานการณ์และบริบทจริง ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนครูสอนพิเศษทีให้ทางเลือก ควบคุม และการบูรณาการณ์ อีกเป็นทั้งผู้กระตุ้นความสนใจและเป็นเครื่องมือแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆกัน ต่อมานักเรียนเกิดการเข้าใจและใช้ภาษาผ่านโปรแกรม Word Processing, Spelling และGrammar Checking เป็นต้น
3. Integrative CALL ปรากฏขึ้นราวปลายคริสตศักราช1980 และต้นปี1990 การเรียนการสอนยุคนี้มีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ตมาเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในการบูรณาการณ์ทักษะทางภาษาทั้งสี่เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนภาษาของนักเรียนนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนอยู่ตลอดเวลา ต่อไปก็คงไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนักที่เห็้นการเรียนแบบ EFL อาจใช้กระบวนการเรียนแบบCALL ก็ได้ในอนาคตอันใกล้