โดย Jerrold Frank,Volume50,No.3,2012
ก่อนที่การเรียนการสอนจะเริ่มขึ้นครูต้องตัดสินใจให้ได้ว่าจะตั้งจุดมุ่งหมายในการวัดผลและพิจารณาบทบาทในการประเมินว่าจะดำเนินอย่างไรในการสอน
ซึ่งการประเมินนี้เป็นการระบุความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน,
จดบันทึกพัฒนาการการเรียนรู้,
และกำหนดว่าครูจะทำอย่างไรในฐานะผู้สอนและนักวางแผน ในการประเมินผลนี้มีบทความอยู่สามบทความที่มีมุมมองในการประเมินที่แตกต่างกันสามารถบรรยายหัวข้อนี้ได้ดี
วิธีการโดยทั่วไปในการวัดความสำเร็จและความสามารถในการเรียนภาษาคือแบบทดสอบ แม้ว่ารูปแบบการประเมินแบบหลายตัวเลือกจะได้รับความนิยมแต่ครูส่วนใหญ่ยังคงใช้รูปแบบนี้เป็นแบบสำรอง
บทความที่สอง
“Coming to Grips with Progress Testing: Some Guidelines for its Design” (Carmen Perez Basanta, 1995) ว่าด้วยเรื่องบทบาทของแบบทดสอบพัฒนาการการเรียนรู้ในห้องเรียนและความสำคัญของการเลือกการทดสอบที่เหมาะสมต่อการสอน
ซึ่งการทดสอบเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ครูทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียนและประเมินประสิทธิภาพ
ในบทความBasantaได้ชี้แจงทฤษฏีสำคัญที่ทำให้ครูมั่นใจได้ว่าจะออกแบบหรือเลือกแบบทดสอบที่ใช้ได้จริง,
น่าเชื่อถือ, และมีเหตุมีผลอย่างไร
ไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการสร้างแบบประเมินหลายตัวเลือกขึ้น
ครูควรให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนนักเรียนเรียนว่าเรียนรู้ในสิ่งที่ครูได้พยายามสอนไปได้ดีแค่ไหน
ในวิธีประเมินในแบบที่สาม “Purposeful Language Assessment: Selecting the
Right Alternative Test” (John Norris, 2000)
ได้มีประเภทคำถามที่เหมาะสมกับการประเมินเทคนิคสู่การเลือกเนื้อหาการสอนภาษาที่เหมาะสมต่อผู้เรียนของครู
การประเมินอาจจะเป็นหนึ่งในส่วนที่ยากและสำคัญที่สุดของอาชีพความเป็นครู ซึ่งการประเมินเป็นส่วนช่วยในการนำนักเรียนสู่การเรียนรู้ที่เหมาะสม
ไม่มีกระบวนการเดียวที่สามารถรู้ความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
ดังนั้นครูควรใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายที่ช่วยให้นักเรียนรู้ว่าพวกเขาจะพัฒนาได้อย่างไรและช่วยให้ครูประเมินประสิทธิของกระบวนการและวัสดุในการสอนอีกด้วยเช่นกัน