1.ระบบการศึกษาที่มีเกณฑ์การจบง่ายและการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ไม่ตรงกับสิ่งที่นักเรียนได้รับ
2.นักศึกษาไม่สามารถเลือกวิชาเอกที่ตนสนใจจริงๆได้ เพราะขึ้นอยู่กับผลคะแนนเอนทร้านซ์ว่าจะได้เรียนในสาขาใด
3.ประเด็นนี้นับว่าเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลอย่างมากนั้นก็คือเรื่องเพศ เพราะผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอกส่วนมากคือผู้หญิง และเมื่อออกไปทำงานโอกาสในการได้รับสวัสดิการต่างๆของผู้หญิงก็ยังคงมีน้อย และที่สำคัญหลังเรียนจบผู้หญิงจะโดนครอบครัวกดดันให้แต่งงานหลังเรียนจบทันที
ด้วยสาเหตุหลักๆที่ได้กล่าวมาแล้วทำให้นักเรียนมีอคติแก่การเรียนภาษาอังกฤษ บางคนเรียนภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมา6ปี ก็ยังคงไม่สามารถสนทนาหรือเขียนประโยคภาษาอังกฤษแบบง่ายๆได้ เพราะว่าครูส่วนใหญ่ก่อนหน้านั้นยังคงชอบใช้วิธีการสอนแบบGrammar Translation และยึดครูเป็นศูนย์กลางฉะนั้นจึงไม่ค่อยมีการฝึกให้ผู้เรียนสนทนาภาษาอังกฤษ นักศึกษาปี1 มักจะโทษตัวเองว่าแย่ที่ไม่สามารถสื่อสารได้
ศาสตร์ในการเพิ่มแรงจูงใจของผู้เรียน
แม้ว่ามีหลายปัจจัยที่มีทำให้แนวโน้มทำให้แรงจูงใจในการเรียนภาษาของผู้เรียนลดลง แต่ครูผู้สอนภาในเกาหลีก็สามารถศาสตร์ต่างๆ ที่จะเพิ่มความมั่นใจในตัวเองและความสนใจในภาษาอังกฤษของนักเรียนได้ ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในแต่ละชั้นเรียนครูควรใช้เวลาเพื่อทำความรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลในตอนเริ่มต้นภาคเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อครูเจ้าของภาษาที่เพิ่งเข้ามาสอนที่เกาหลีเพราะว่าเขาจะต้องแปลกใจที่ได้รู้ว่านักเรียนที่ดูเบื่อเมื่อตอนเรียนในชั้นเรียนการสนทนาภาษาอังกฤษเบื้องต้นจริงๆแล้วเขาได้โตขึ้นในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ หรือนักเรียนอีกครึ่งหนึ่งของชั้นเรียนแท้จริงแล้วก็ไม่ได้อยากเรียนภาอังกฤษเป็นภาษาหลักแต่อย่างใด
การช่วยนักเรียนที่จะเชื่อมต่อการเรียนภาษาเข้าสู่เป้าหมายส่วนตัวเป็นวิธีที่ดีสำหรับครูที่จะเริ่มกล่าวเพื่อเป็นประเด็นในการสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียน ทางเลือกหนึ่งก็คือให้นักเรียนกรอกแผนการในการประสบความสำเร็จของตน
ในตอนเริ่มต้นของแต่ละปีการศึกษาครูควรใช้เวลาอธิบายวิธีกานสอนภาษาของตนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนบรรลุการเรียนในแต่ละระดับโดยการสื่อสารประโยคภาษาอังกฤษแบบง่ายๆและการสาธิตกิจกรรมในห้องเรียนแบบสั้นๆ
เพราะนักเรียนคุ้นเคยกับการที่ครูเป็นศูนย์กลางของชั้นเรียน และการจัดกิจกรรมในห้องเรียนออกแบบมาเพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม นักเรียนที่ได้ถูกสอนให้ฟังครูอย่างกับเป็นผู้มีอำนาจที่จะกำหนดถูกผิดการใช้ภาษา แม้ว่าครูเจ้าของภาษาจะมองว่ากิจกรรมที่ให้นักเรียนทำเป็นคู่จะเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการลดการแสดงความกังวลและเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้เรียน กระนั้นก็ยังมีนักเรียนชาวเกาหลีบางคนคิดว่าไม่ได้ผล
การทดลองใช้กิจกรรมที่หลากหลายอาจจะช่วยครูผู้สอนหาส่วนผสมที่เหมาะสมในแต่ละชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น ครูสามารถใช้Pair-Monitor Technique เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำจำนวนมากแก่นักเรียนเกาหลีในเรื่องการใช้ภาอย่างถูกต้อง เทคนิคนี้นักเรียนคนที่สามจะได้รับการ์ดที่มีบทสนทนาเป็นคู่ทีเขียนไว้อย่างถูกต้อง นักเรียนคนที่สามจะจะแสดงเป็นพี่เลี้ยงของกลุ่มและให้คำแนะนำไปกับเพื่อนนักเรียนที่สนทนากันเป็นคู่ เนื่องจากวิธีนี้นักเรียนจะย้ายจากกลุ่มนี้ไปกลุ่มนั้นเรื่อยๆ ครูก็จะเป็นผู้ฟังการสนทนาของนักเรียน ถ้านักเรียนมีข้อผิดพลาดในการสนทนาครูก็จะช่วยแก้ไขให้การพูดที่ถูกต้องแก่นักเรียน
ครูควรแนะนำและอธิบายกิจกรรมใหม่ๆที่จะนำมาใช้ให้นักเรียนทราบอย่างละเอียดว่าจะสามารถฝึกทักษะภาอังกฤษใดให้แก่นักเรียนได้บ้าง ระดับของแรงจูงใจจะลดลงและระดับของความกังวลจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อนักเรียนไม่รู้ว่าพวกเขาจะทำการบ้านภาษาอังกฤษอย่างไรและทำไปทำไม การพูดในแง่บวกเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำในลำดับต่อไปเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มแรงจูงใจ อาจจะพูดว่า “ฉันคิดว่าพวกเธอคงต้องสนุกกับกิจกรรมต่อไปของเราแน่ๆเลย” ซึ่งนั่นก็หมายความว่า คุณครูต้องมีความกระตือรือร้นเพื่อบ่งบอกว่ามันน่าจะสนุกจริงๆ ฉะนั้นแล้วนักเรียนก็จะรับความรู้สึกนั้นได้และรู้สึกอยากร่วมกิจกรรมเช่นกัน
การสอนเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาท่าทางนับว่ามีความสำคัญมาก นักเรียนที่โตขึ้นห่างจากเมืองใหญ่ เช่น กรุงโซล ที่ไม่เคยสื่อสารกับชาวต่างชาติมาก่อนเข้าเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย ดังนั้นอาจจะเข้าใจอากัปกริยาและภาท่าทางของครูชาวตะวันตกผิด อย่างเช่น การส่งสายตาแสดงความแปลกใจหรือเหลือเชื่อเพื่อที่จะป้องกันความสับสนและความสงสัยท่ามกลางนักเรียนที่อ่านความตั้งใจของครูผิด
การสร้างสรรค์กิจกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้ในการสื่อสารจริงจะเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนได้
วิธีหนึ่งที่จะสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนได้นั่นก็คือ บอกข้อดีของการเรียนภาษา ว่าเรียนแล้วมีผลดีอย่างไร ภาจะทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
การสอนภาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับภาษาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม, ธุรกิจและอื่นๆที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้มากกว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับไวยากรณ์และสุนทรียภาพของวรรณคดีที่บางครั้งสอนเป็นภาษาแม่ด้วยซ้ำ
สำหรับประสบการณ์ของผู้เขียน(Janet S. Niederhuser) การนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมมาสอนภาษา คือ วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มแรงจูงใจ ในสังคมที่มีความขัดแย้งกันระหว่างเสรีนิยมและชาตินิยมยังคงเป็นปัญหา ดังนั้นคนรุ่นใหม่จำนวนมากจึงภาคภูมิที่เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของคนในประเทศอื่นๆและมาแลกเปลี่ยนแนวคิดกับครูได้
ฉะนั้นแล้วการที่จะเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้เรียนในการเรียนภาอังกฤษมิเพียงแต่การฝึกบทสนทนาที่ใช้ในสถานการณ์จริงได้เท่านั้น แต่ควรให้นักเรียนมีความประทับใจในวัฒนธรรมของประเทศเจ้าของภาษาอังกฤษด้วย ทั้งการเรียนภาษาศาสตร์และทักษะทางวัฒนธรรมไปพร้อมๆกันจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการใช้ภาษาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น