วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

EFL Teachers' Attitude toward Using Computer Technology in English Language Teaching

ทัศนะคติของครูสอนภาษาต่างประเทศกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

     จากการวิจัยสามารถยืนยันได้ว่า ครูส่วนใหญ่เชื่อว่าจะเป็นการดียิ่ง ถ้าการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมบูรณาการในการเรียนการสอน  จะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นดีขึ้น    ครูมีบทบาทอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงบริบทในชั้นเรียน โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยสอน เจตคิของครู คิดว่า สิ่งที่สำคัญมากก็คือการนำเทคโนโลยีไปใช้ ครูจะรู้สึกสะดวกสบาย ในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การพัฒนาทัศนคติเชิงบวกเป็นการเสริมสร้างการเรียนการสอน และลดทัศนคติเชิงลบของครูในการใช้คอมพิวเตอร์ด้วย
       ทัศนคติเชิงลบ เป็นเรื่องของค่าใช่จายที่ต้องใช้เป็นจำนวนมาก  
II.  Deffinition of Teachers' Attitude
     ทัศนะคติ คือ ความเชื่อ ความรู้สึก และพฤติกรรม เกี่ยวกับเหตุการณ์ สัญลักษณ์ ฯลฯ ทางสังคมของครู


III.  Aspects of Attitude
     - "readiness for response" ความพร้อมในการตอบสนอง
     - "motivating" การดึงดูดใจ

IV. Teachers'Attitudes and Computer Technology Training
      จากการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การฝึกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และทัศนคติในการสอนของครูต่างก็มีประโยชน์ต่อกัน  เนื่องจากการฝึกใช้เทคโนโลยีนั้นได้ส่งเสริมวิธีการที่ครูจะนำเครื่องมือสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในชั้นเรียน  อย่างเช่น ณ ประเทศอิตาลีก็มีการจัดการสอบสอนโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีร่วมด้วย ปรากฏว่า “ทั้งทฤษฏีในการสอนและระดับความสามารถที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีของครู มีบทบาทสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน, แนวความคิดในการสอนอีกทั้งวิธีการสร้างแรงจูงใจแก่นักเรียนของครู” แต่ก้ยังมีในอีกหลายประเทศที่ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้มาช่วยในการอบรม

Conclution
       นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาถ้าจะทำให้ครูเห็นประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้งนี้จะต้องมี การสนับสนุน คำแนะนำในการใช้ การฝึกอบรม และการส่งเสริมอื่นๆ อีกทั้งควรมีการฝึกที่ไม่มีขีดจำกัดในการใช้อีกด้วย

  

Computer Assisted Language Learning and English Language Teaching in Thailand

ข้อดีและข้อเสียของการใช้CALL
-ข้อดี
        1.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะทางภาษาทั้งสี่ ได้แก่Listening, Speaking, Reading, และWriting ภายใต้กิจกรรมที่หลากหลาย
         2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและปฏิกริยาโต้ตอบกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
         3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถให้ข้อมูลที่หลากหลายที่แก่นักเรียนมึความสนใจที่ต่างกันที่ห้องเรียนก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการนั้นได้
          4.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือและตัดสินใจด้วยตนเอง
           5.นอกจากนี้ห้องเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางยังสามารถใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนการสอนได้
-ข้อเสีย
         1.มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใช้งานสูง
          2.ในประเทศไทยยังมีผู้รู้/ผู้เชี่ยวชาญในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนน้อย

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

What are the solutions for the problems of applying CAI to teaching

อะไรคือวิธีการแก้ไขปัญหาในการใช้โปรแกรม CAI ในการสอน

 วิธีการแก้ไขปัญหาในการใช้โปรแกร CAI ในการสอนสามารถแก้ไขได้ดังนี้

- มีการสนับสนุนอุปกรณ์ในการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ
-จัดอบรมบุคคลากรให้มีความรู้ในการใช้สื่ออิเล็กซ์ทรอนิกส์และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้
-จัดช่างเทคนิคก็มีความจำเป็นในการดูแลควบคุมคอมพิวเตอร์
-ส่งเสริมทัศนคติที่ดีแก่ของอาจารย์ที่ไม่เห็นด้วยต่อการสอนโดยใช้CAI
- มีการสนับสนุนส่งเสริมโดยมีงบประมาณและการสนับสนุนที่เพียงพอต่อการเรียนการสอน

What are the difficulties of applying CAI to teaching?

 What are the difficulties of applying CAI to teaching?

     อุปสรรคของการประยุกต์คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายปัจจัยด้วยกันดังนี้

-ขาดอุปกรณ์ในการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-ขาดบุคคลากรผู้มีความรู้ในการใช้สื่ออิเล็กซ์ทรอนิกส์
-ขาดช่างเทคนิคก็มีความจำเป็นในการดูแลควบคุมคอมพิวเตอร์
-ทัศนคติของอาจารย์บางท่านไม่อำนวยต่อการสอนโดยใช้CAI
- งบประมาณและการสนับสนุนที่ไม่เพียงพ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

What is the study like?


What is the study like?
จุดประสงค์คือการให้โอกาแก่นักเรียนที่จะดึงความสามารถและพัฒนาทักษะทางการสื่อสารออกมา ซึ่งจะมีเน้นย้ำมากในเรื่องการใช้สื่อผสมและการใช้Power Point และต้องบูรณาการเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์สู่การฝึกทักษะต่างๆ ทางภาษา  บรรยากาศห้องเรียนแบบCALLนั้น ครูจะจัดตั้งระบบE-Learningไว้ ผู้เรียนจะต้องแจ้งงาน,  ดูแล้วแสดงความคิดเห็น ตรวจทาน ในรายงานของกลุ่มอื่นๆ, การใช้จดหมายอิเล็กซ์ทรอนิกส์, การสนทนาออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่จะได้รับอย่างมากมายกว่าแหล่งข้อมูล

What are the principles and factors for applying?


What are the principles and factors for applying?
การสร้างแรงจูงใจ              
1. ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
                2. ทำให้นักเรียนมีทักษะในการรับรู้มากยิ่งขึ้น
                3. กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
บทบาทพิเศษของการสอน    
1. ช่วยให้นักเรียนพบและแก้ไขปัญหา
                2. เพื่อหาความสามารถเฉพาะด้านในการเรียนรู้ของนักเรียน
3.ช่วยนักเรียนในการเชื่อมต่อและเข้าถึงข้อมูลและแหล่งข้อมูลทางการศึกษา

ส่งเสริมกลวิธีในการสอนแบบใหม่
1. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2.ร่วมกันใช้และแบ่งปันความสามารถทางสติปัญญา
3. การแก้ไขปัญหา
ดึงความสามารถในการผลิตของครูออกมา
                1.จัดการกับภาระงานที่หนัก
                2.ประหยัดเวลาในการออกแบบหลักสูตร

What are trends in educational technology?


What are trends in educational technology?
-คอมพิวเตอร์มีใช้อย่างทั่วถึงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาที่สูงขึ้น และนักเรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถเข้าถึงการใช้คอมพิวเตอร์ได้
-นักเรียนเข้าถึงการรับแหล่งข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง
-เทคโนโลยีทางการศึกษาได้ขยายวงกว้างไปยังบ้านและชุมชน
-ครูต้องผู้ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
-เน็ตเวิร์กเป็นระบบที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
-มีนโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เพิ่มขึ้น
-อุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ๆได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
-เทคโนโลยีทางการศึกษาได้เปรียบเสมือนพาหนะในการขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญ

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Computer Assisted Language Learning (CALL) in Each Phases

CALL หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการสอนภาษา มีวิวัฒนาการการพัฒนาออกเป็น3 ยุคหลักๆ ดังต่อไปนี้
1.Behaviorist CALL เป็นยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งการใช้อย่างแพร่หลายในราวคริสตศักราช 1960 และ 1970 การเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบของการฝึกซ้ำๆ ภายใต้หลักการของการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับทฤษฏีทางพฤติกรรมในการเรียนรู้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ก็มีฮาร์ดแวร์พิเศษเฉาะ อันได้แก่ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับแบบฝึกหัด คำอธิบายไวยากรณ์อย่างย่อ และข้อสอบการแปล
2.Communicate CALL ขึ้นอยู่กับทฤษฏีการสอนแบบ Communicative Teaching Approaches เริ่มต้นขึ้นราวคริสตศักราช1970และต้นคริสตศักราช1980 การสอนในรูปแบบนี้นั้นเน้นการส่งเสริมการสนทนาในสถานการณ์และบริบทจริง ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนครูสอนพิเศษทีให้ทางเลือก ควบคุม และการบูรณาการณ์ อีกเป็นทั้งผู้กระตุ้นความสนใจและเป็นเครื่องมือแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆกัน ต่อมานักเรียนเกิดการเข้าใจและใช้ภาษาผ่านโปรแกรม Word Processing, Spelling และGrammar Checking เป็นต้น
3. Integrative CALL ปรากฏขึ้นราวปลายคริสตศักราช1980 และต้นปี1990 การเรียนการสอนยุคนี้มีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ตมาเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในการบูรณาการณ์ทักษะทางภาษาทั้งสี่เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนภาษาของนักเรียนนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนอยู่ตลอดเวลา ต่อไปก็คงไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนักที่เห็้นการเรียนแบบ EFL อาจใช้กระบวนการเรียนแบบCALL ก็ได้ในอนาคตอันใกล้

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Multiple Intelligences

คิดค้นโดย Howard Gardner โดยเชื่อว่าผู้เรียนมีจุดแกร่งในการเรียนรู้ที่ต่างกัน และถ้าผู้เรียนรู้จุดแกร่งของตนเองแล้วจะทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น  โดยความสามารถมี:
-ความสามารถในการสื่่อสารภาษา: เสียง, ความหมายและจังหวะของคำ
-ความสามารถทางด้านตรรกะศาสตร์ : มีความสามารถในหารคิดโดยมีหลักการ
-ความสามารถทางดนตรี: ความสามารถในการออกเสียง จังหวะที่เหมาะสม 
-ความสามารถในการจินตนาการ: ความสามารถในการคิดในการจินตนาการและจดจำเป็นรูปภาพ
-ความสามารถในการมีมนุษยสัมพันธ์: ความสามารถในการโต้ตอบกับอารมณ์ที่เหมาะสม
-ความสามารถในความเข้าใจตนเอง: ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึก คุณค่า  ความเชื่่อและ กระบวนการคิดในตนเอง
-ความสามาถในความเข้าใจธรรมชาติ: พืช สัตว์ และสิ่งอื่นทางธรรมชาติ
-ความสามารถในความเข้าใจการมีชีวิต: สามารถตอบคำถามที่ลึกซึ้งของการมีชีวิตอยุ่ของมนุษย์ได้

Whole Language Approach

-เน้นการสอนภาษาจากภาพรวม
-ทดสอบโดยใช้การอ่านและการเขียน
-มีสองทักษะการเขียนที่เหมาะกับกานสอนแบบWhole language leaarning:
  -process writing: กระบวนการเขียน
  -journal keeping: สิ่งที่นักเรียนอยากจะสื่อสารกับครู(ครูเขียนตอบโต้โดยไม่เน้นความถูกผิดในการเขียน)


Cooperative Learning

Cooperative learning หรือการเรียนแบบร่วมมือ
-ครูไม่เพียงสอนภาษาแต่ยังสอนให้ทำงานกันเป็นกลุ่มอีกด้วย
-นักเรียนมักจะเรียนกันในกลุ่มเดิมในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อที่จะเรียนรู้การทำงานร่วมกันให้ดีขึ้น
-แม้ว่านักเรียนจะทำงานกันเป็นกลุ่มแต่นักเรียนแต่ละคนก็มีงานเดี่ยวไห้รับผิดชอบ
-ความรับผิดชอบและความสามารพในการเรียนรู้ซึ่งกันและกันจะได้ร่วมกันแบ่งปัน
-สมาชิกแต่ละคนของกลุ่มควรถูกกระตุ้นให้มีความรับผิดชอบ


Task-Based Instruction(TBI)

 -TBI เน้นในเรื่องของภาษาที่ใช้ในสถานการณ์จริงและงานที่ใช้ภาษาเป้าหมาย ใช้ภาษาเพื่อทำงานให้สำเร็จ
- การประเมินจะประเมินจากงานมากกว่าความถูกต้องของรูปแบบภาษา
-เป็นที่นิยมในการพัฒนาความคล่องแคล่วและความมั่นใจของนักเรียนในการใช้ภาษาเป้าหมาย
-กิจกรรมการเรียนรู้มีจุดประสงค์และผลงานที่ชัดเจน
-นักเรียนทำงานก่อนเรียนที่เหมือนกันพร้อมกันก่อนที่จะทำงานในลักษณะเดียวกันนี้รายเดี่ยว
-ครูสอนโดยแบ่งเป็นเนื้อหาทีละขั้นละเอียดขึ้นเรื่อยๆเพื่อฝึกกระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลแก่ผู้เรียน
-ครูใช้ทุกภาษาที่ทำให้นักเรียนเข้าใจได้
-ครูแก้ไขความผิดพลาดในการใช้ภาษาเป้าหมายของผู้เรียนโดยการกล่าวซ้ำในรูปแบบที่ถูกต้อง
-ใช้jigsaw task เพื่อพัฒนนาทักษะการพูดและการฟัง
-นักเรียนได้รับผลตอบรับในความสำเร็จในการเรียนภาษาโดยการได้รับคะแนน

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

Content-Based Instruction(CBI)

เป้าหมายของการเรียนแบบCBI หรือภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ คือเตรียมผู้เรียนเรียนรู้ภาษาจากบทความของแต่ละวิชา และใช้สื่อการเรียนรู้แบบของจริง มีหลักการที่น่าสนใจดังนี้
-เนื้อหาของรายวิชาใช้ตามจุดประสงค์การสอน
-ครูจะสร้าง/ทบทวนบทเรียนจากความรู้เดิมของผู้เรียน
-ครูสอนเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นตามลำดับ
-ผู้เรียนเรียนภาษาและเนื้อหาภายในเนื้อหาของสื่อการสอนจริงและงานจริ
-ความสามารถในการสื่อสารมีทั้งความสามารถในการอ่าน อภิปราย เขียนเกี่ยวกับบทความโดยการบูรณาการจากวิชาอื่นๆ

Community Language Learning

Community language learning ได้รับการคิดค้นโดย Charles A.Curran (1960) ครูทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้ให้คำปรึกษาทางด้านภาษา มีหลักการที่น่าสนใจดังนี้
-นักเรียนเปรียบเสมือนผู้รับคำปรึกษา
-ครูเปรียบเสมือนผู้ให้คำปรึกษา
-ไวยากรณ์และคำศัพท์ได้รับการสอนเป็นแบบสอนเนื้้อหาก่อนแล้วเน้นโครงสร้างหรือความหมายทีหลัง
-"Chunk"ของการสอนภาษาเป้าหมายเกิดขึ้นโดยการบันทึกเสียงพูดบทสนทนาของนักเรียนก่อนแล้วค่อยแปลเป็นภาษาแม่
-นักเรียนใช้ภาษาเป้าหมายมาใช้ดดยไม่มีการแปลเมื่อเขารู้สึกมั่นใจพอว่าจะทำได้
-นักเรียนถูกกระตุ้นให้ออกความคิดเห็นว่ารู้สึกอย่างไรกับการเรียนภาษาบ้าง
-ใช้กิจกรรมที่หลากหลายสอนไวยากรณ์และการออกเสียง

Suggestopedia


Suggestopediaได้รับการคิดค้นในช่วงปลายคริสตศักราช 1970s โดย Georgi Lozanovซึ่งเขามีความเชื่อว่าการเรียนภาษาควรเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนตั้งแต้ยังเด็กมากเท่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยมีหลักการที่น่าสนใจเกี่่ยวกับการสอนแบบ Desuggestopedia ดังนี้
-การเรียนรู้ควรจัดบรรยากาศให้ผู้เรียนรูสึกผ่อนคลาย สะดวกสบาย
-ถ้านักเรียนมีความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของครูผู้สอน นักเรียนก็ได้รับเนื้อหาข้อมูลได้ดีมากยิ่งขึ้น
-ใช้ภาษาแม่ในการแปล
-ความผิดพลาดเล็กน้อยในการเรียนภาษาให้อภัยกันได้

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

Total Physical Response(TPR)


Total Physical Response หรือ การสอนโดยใช้ภาษาท่าทางได้รับการคิดค้นโดยJames Asher สิ่่งสำคัญของการเรียนแบบTPR ก็คือการเรียนรู้นั้นเน้นความสนุกสนานและไม่เครียด ซึ่งJames Asher ได้คิดค้นวิธีกาารเรียนรู้แบบธรรมชาติที่เป็นลักษณะสำคัญได้แก่
-เน้นทักษะการฟังและทักษะทางกายภาพ
-เน้นการสอนไวยากรณ์และคำศัพท์
-เน้นการสื่อสารโดยภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
-ใช้คำสั่งในการสอนแล้วให้นักเรียนปฏิบัติตาม
-แทรกความตลกขบขันเข้าไปในบทเรียนเพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนสนุกสนานมากยิ่งขึ้้น
-นักเรียนจะพูดภาษาเป้าหมายเมื่อรู้สึกว่าพร้อมและมั่นใจพอที่จะพูด


วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

The Silent Way



                วิธีการสอนแบบ The Silent Way  ถูกพัฒนาขึ้นโดย Caleb Gattegno ใน ค.ศ.1963 โดยเขได้กล่าวไว้ว่า “การสอนควรสำคัญน้อยกว่าการเรียนรู้” การสอนวิธีนี้มีลักษณะสำคัญดังนี้
                -การเรียนการสอนจะง่ายขึ้นถ้าผู้เรียนค้นพบและสร้างสิ่งจะเรียนขึ้นมา
                -การเรียนจะง่ายขึ้นถ้ามีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสื่อที่เรียน
                -สอนการออกเสียงสระ/พยัญชนะโดยใช้แผนผังเสียง-สี
                -สอนการออกเสียงคำศัพท์โดยใช้ “rod”
                -สอนประโยคโดยวาง”rod”วางต่อกัน
                -ฝึกโดยใช้แผนผังเสียง-สี

Audio-lingual Method (ALM)



                การสอนภาษาอังกฤษแบบ Audio-lingual Method (ALM) เกิดจากวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของทหารอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ.1950s ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
-                   สื่อการสอนเป็นบทสนทนา ทั้งแบบที่เป็นในแบบเรียนและที่ครูให้นักเรียนนำมาประยุกต์ใช้
-                   การเรียนการสอนยังต้องพึ่งพาการท่องจำ, การเขียน
-                   สอนไวยากรณ์แบบอุปนัย
-                   โครงสร้างประโยคสอนโดยการใช้กล่าวซ้ำๆ
-                   เน้นการออกเสียงให้ถูกต้อง
-                   ครูใช้กาษาแม่เล็กน้อย

The Direct Method



                การสอนแบบ The Direct Method มีลักษณะดังนนี้
-ไม่อนุญาตให้ใช้ภาษาแม่ โดยจะใช้เฉพาะภาษาเป้าหมายในการเรียนการสอนเท่านั้น
-การพูดปากเปล่าจะได้รับการพัฒนาโดยการถามตอบระหว่างครูและนักเรียน
-สอนคำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมผ่านการสาธิตสิ่งของหรือรูปภาพนั้นๆ
-สอนไวยากรณ์แบบอุปนัย(สอนด้วยประโยค/บทความก่อนแล้วจึงสอนโครงสร้าง/คำศัพท์)
 -เน้นทักษะการพูดและการออกเสียงที่ถูกต้อง

The Grammar Translation Method



                การสอนโดยเน้นโครงสร้างทางไวยากรณ์นี้เป็นการสอนแบบแรกของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยการสอนแบบนี้เป็นขยายเป็นวงกว้างในศตวรรษที่19  และมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจดังนี้
-โดยการสอนในรูปแบบนี้จะเน้นกฎของการใช้ไวยากรณ์และทำแบบฝึกหัด
-เน้นความถูกต้องของโครงสร้างประโยค
-การอ่านและการเขียนจะถูกให้ความสำคัญ(การฟังและการพูดจะไม่ถูกให้ความสำคัญ)
-สอนแบบนิรนัย(สอนโครงสร้างก่อนแล้วยกตัวอย่าง/บทความทีหลัง)

การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ณ มหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้

เขียนโดย Janet S. Niederhauser, Volume35, No.1(1997)

สาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาต่ำ
1.ระบบการศึกษาที่มีเกณฑ์การจบง่ายและการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ไม่ตรงกับสิ่งที่นักเรียนได้รับ
2.นักศึกษาไม่สามารถเลือกวิชาเอกที่ตนสนใจจริงๆได้ เพราะขึ้นอยู่กับผลคะแนนเอนทร้านซ์ว่าจะได้เรียนในสาขาใด
3.ประเด็นนี้นับว่าเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลอย่างมากนั้นก็คือเรื่องเพศ เพราะผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นวิชาเอกส่วนมากคือผู้หญิง และเมื่อออกไปทำงานโอกาสในการได้รับสวัสดิการต่างๆของผู้หญิงก็ยังคงมีน้อย และที่สำคัญหลังเรียนจบผู้หญิงจะโดนครอบครัวกดดันให้แต่งงานหลังเรียนจบทันที

      ด้วยสาเหตุหลักๆที่ได้กล่าวมาแล้วทำให้นักเรียนมีอคติแก่การเรียนภาษาอังกฤษ บางคนเรียนภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมา6ปี ก็ยังคงไม่สามารถสนทนาหรือเขียนประโยคภาษาอังกฤษแบบง่ายๆได้ เพราะว่าครูส่วนใหญ่ก่อนหน้านั้นยังคงชอบใช้วิธีการสอนแบบGrammar Translation และยึดครูเป็นศูนย์กลางฉะนั้นจึงไม่ค่อยมีการฝึกให้ผู้เรียนสนทนาภาษาอังกฤษ นักศึกษาปี1 มักจะโทษตัวเองว่าแย่ที่ไม่สามารถสื่อสารได้
      
ศาสตร์ในการเพิ่มแรงจูงใจของผู้เรียน
                 แม้ว่ามีหลายปัจจัยที่มีทำให้แนวโน้มทำให้แรงจูงใจในการเรียนภาษาของผู้เรียนลดลง แต่ครูผู้สอนภาในเกาหลีก็สามารถศาสตร์ต่างๆ ที่จะเพิ่มความมั่นใจในตัวเองและความสนใจในภาษาอังกฤษของนักเรียนได้  ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในแต่ละชั้นเรียนครูควรใช้เวลาเพื่อทำความรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลในตอนเริ่มต้นภาคเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อครูเจ้าของภาษาที่เพิ่งเข้ามาสอนที่เกาหลีเพราะว่าเขาจะต้องแปลกใจที่ได้รู้ว่านักเรียนที่ดูเบื่อเมื่อตอนเรียนในชั้นเรียนการสนทนาภาษาอังกฤษเบื้องต้นจริงๆแล้วเขาได้โตขึ้นในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ หรือนักเรียนอีกครึ่งหนึ่งของชั้นเรียนแท้จริงแล้วก็ไม่ได้อยากเรียนภาอังกฤษเป็นภาษาหลักแต่อย่างใด
                การช่วยนักเรียนที่จะเชื่อมต่อการเรียนภาษาเข้าสู่เป้าหมายส่วนตัวเป็นวิธีที่ดีสำหรับครูที่จะเริ่มกล่าวเพื่อเป็นประเด็นในการสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียน ทางเลือกหนึ่งก็คือให้นักเรียนกรอกแผนการในการประสบความสำเร็จของตน
                ในตอนเริ่มต้นของแต่ละปีการศึกษาครูควรใช้เวลาอธิบายวิธีกานสอนภาษาของตนแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนบรรลุการเรียนในแต่ละระดับโดยการสื่อสารประโยคภาษาอังกฤษแบบง่ายๆและการสาธิตกิจกรรมในห้องเรียนแบบสั้นๆ
 เพราะนักเรียนคุ้นเคยกับการที่ครูเป็นศูนย์กลางของชั้นเรียน และการจัดกิจกรรมในห้องเรียนออกแบบมาเพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม  นักเรียนที่ได้ถูกสอนให้ฟังครูอย่างกับเป็นผู้มีอำนาจที่จะกำหนดถูกผิดการใช้ภาษา แม้ว่าครูเจ้าของภาษาจะมองว่ากิจกรรมที่ให้นักเรียนทำเป็นคู่จะเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการลดการแสดงความกังวลและเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้เรียน กระนั้นก็ยังมีนักเรียนชาวเกาหลีบางคนคิดว่าไม่ได้ผล
                การทดลองใช้กิจกรรมที่หลากหลายอาจจะช่วยครูผู้สอนหาส่วนผสมที่เหมาะสมในแต่ละชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น ครูสามารถใช้Pair-Monitor Technique เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำจำนวนมากแก่นักเรียนเกาหลีในเรื่องการใช้ภาอย่างถูกต้อง เทคนิคนี้นักเรียนคนที่สามจะได้รับการ์ดที่มีบทสนทนาเป็นคู่ทีเขียนไว้อย่างถูกต้อง นักเรียนคนที่สามจะจะแสดงเป็นพี่เลี้ยงของกลุ่มและให้คำแนะนำไปกับเพื่อนนักเรียนที่สนทนากันเป็นคู่ เนื่องจากวิธีนี้นักเรียนจะย้ายจากกลุ่มนี้ไปกลุ่มนั้นเรื่อยๆ ครูก็จะเป็นผู้ฟังการสนทนาของนักเรียน ถ้านักเรียนมีข้อผิดพลาดในการสนทนาครูก็จะช่วยแก้ไขให้การพูดที่ถูกต้องแก่นักเรียน
                ครูควรแนะนำและอธิบายกิจกรรมใหม่ๆที่จะนำมาใช้ให้นักเรียนทราบอย่างละเอียดว่าจะสามารถฝึกทักษะภาอังกฤษใดให้แก่นักเรียนได้บ้าง  ระดับของแรงจูงใจจะลดลงและระดับของความกังวลจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อนักเรียนไม่รู้ว่าพวกเขาจะทำการบ้านภาษาอังกฤษอย่างไรและทำไปทำไม  การพูดในแง่บวกเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำในลำดับต่อไปเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มแรงจูงใจ อาจจะพูดว่าฉันคิดว่าพวกเธอคงต้องสนุกกับกิจกรรมต่อไปของเราแน่ๆเลยซึ่งนั่นก็หมายความว่า คุณครูต้องมีความกระตือรือร้นเพื่อบ่งบอกว่ามันน่าจะสนุกจริงๆ ฉะนั้นแล้วนักเรียนก็จะรับความรู้สึกนั้นได้และรู้สึกอยากร่วมกิจกรรมเช่นกัน
                การสอนเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาท่าทางนับว่ามีความสำคัญมาก นักเรียนที่โตขึ้นห่างจากเมืองใหญ่ เช่น กรุงโซล ที่ไม่เคยสื่อสารกับชาวต่างชาติมาก่อนเข้าเรียนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย ดังนั้นอาจจะเข้าใจอากัปกริยาและภาท่าทางของครูชาวตะวันตกผิด อย่างเช่น การส่งสายตาแสดงความแปลกใจหรือเหลือเชื่อเพื่อที่จะป้องกันความสับสนและความสงสัยท่ามกลางนักเรียนที่อ่านความตั้งใจของครูผิด
                การสร้างสรรค์กิจกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้ในการสื่อสารจริงจะเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนได้
                วิธีหนึ่งที่จะสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนได้นั่นก็คือ บอกข้อดีของการเรียนภาษา ว่าเรียนแล้วมีผลดีอย่างไร ภาจะทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
                การสอนภาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับภาษาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม, ธุรกิจและอื่นๆที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้มากกว่าการวิเคราะห์เกี่ยวกับไวยากรณ์และสุนทรียภาพของวรรณคดีที่บางครั้งสอนเป็นภาษาแม่ด้วยซ้ำ
                สำหรับประสบการณ์ของผู้เขียน(Janet S. Niederhuser) การนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมมาสอนภาษา คือ วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มแรงจูงใจ ในสังคมที่มีความขัดแย้งกันระหว่างเสรีนิยมและชาตินิยมยังคงเป็นปัญหา ดังนั้นคนรุ่นใหม่จำนวนมากจึงภาคภูมิที่เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของคนในประเทศอื่นๆและมาแลกเปลี่ยนแนวคิดกับครูได้
                ฉะนั้นแล้วการที่จะเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้เรียนในการเรียนภาอังกฤษมิเพียงแต่การฝึกบทสนทนาที่ใช้ในสถานการณ์จริงได้เท่านั้น แต่ควรให้นักเรียนมีความประทับใจในวัฒนธรรมของประเทศเจ้าของภาษาอังกฤษด้วย ทั้งการเรียนภาษาศาสตร์และทักษะทางวัฒนธรรมไปพร้อมๆกันจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการใช้ภาษาได้

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทบาทของการประเมินผลในการสอนภาษา

โดย Jerrold Frank,Volume50,No.3,2012
ก่อนที่การเรียนการสอนจะเริ่มขึ้นครูต้องตัดสินใจให้ได้ว่าจะตั้งจุดมุ่งหมายในการวัดผลและพิจารณาบทบาทในการประเมินว่าจะดำเนินอย่างไรในการสอน ซึ่งการประเมินนี้เป็นการระบุความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน, จดบันทึกพัฒนาการการเรียนรู้, และกำหนดว่าครูจะทำอย่างไรในฐานะผู้สอนและนักวางแผน  ในการประเมินผลนี้มีบทความอยู่สามบทความที่มีมุมมองในการประเมินที่แตกต่างกันสามารถบรรยายหัวข้อนี้ได้ดี 
                วิธีการโดยทั่วไปในการวัดความสำเร็จและความสามารถในการเรียนภาษาคือแบบทดสอบ  แม้ว่ารูปแบบการประเมินแบบหลายตัวเลือกจะได้รับความนิยมแต่ครูส่วนใหญ่ยังคงใช้รูปแบบนี้เป็นแบบสำรอง 
                บทความที่สอง “Coming to Grips with Progress Testing: Some Guidelines for its Design” (Carmen Perez Basanta, 1995) ว่าด้วยเรื่องบทบาทของแบบทดสอบพัฒนาการการเรียนรู้ในห้องเรียนและความสำคัญของการเลือกการทดสอบที่เหมาะสมต่อการสอน ซึ่งการทดสอบเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ครูทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียนและประเมินประสิทธิภาพ ในบทความBasantaได้ชี้แจงทฤษฏีสำคัญที่ทำให้ครูมั่นใจได้ว่าจะออกแบบหรือเลือกแบบทดสอบที่ใช้ได้จริง, น่าเชื่อถือ, และมีเหตุมีผลอย่างไร
                ไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการสร้างแบบประเมินหลายตัวเลือกขึ้น ครูควรให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนนักเรียนเรียนว่าเรียนรู้ในสิ่งที่ครูได้พยายามสอนไปได้ดีแค่ไหน ในวิธีประเมินในแบบที่สาม “Purposeful Language Assessment: Selecting the Right Alternative Test” (John Norris, 2000) ได้มีประเภทคำถามที่เหมาะสมกับการประเมินเทคนิคสู่การเลือกเนื้อหาการสอนภาษาที่เหมาะสมต่อผู้เรียนของครู
                การประเมินอาจจะเป็นหนึ่งในส่วนที่ยากและสำคัญที่สุดของอาชีพความเป็นครู  ซึ่งการประเมินเป็นส่วนช่วยในการนำนักเรียนสู่การเรียนรู้ที่เหมาะสม  ไม่มีกระบวนการเดียวที่สามารถรู้ความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ดังนั้นครูควรใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายที่ช่วยให้นักเรียนรู้ว่าพวกเขาจะพัฒนาได้อย่างไรและช่วยให้ครูประเมินประสิทธิของกระบวนการและวัสดุในการสอนอีกด้วยเช่นกัน

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Teaching Listening Skills to Young Learners through "Listen and Do" Songs

โดย Mustafa Sevik,Volume50, No.3,2012
การพัฒนาทักษะการฟังเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของหลักสูตรESL/EFLของเด็กเล็ก  ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษผ่านเพลงเป็นการฝึกภาษาอังกฤษที่ใช้ในสถานการณ์จริง การร่วมมือกันของนักเรียนทั้งชั้นเรียน และใช้การเคลื่อนไหวร่างกายทำให้ผู้เรียนเกิดคววามสนุกสนานมากขึ้น อีกทั้งเพลงได้ถูกพิจารณาแล้วว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ได้ผลดีที่สุดในทักษะการฟัง  เพลงเป็นกิจกรรมที่มีความหมายและสนุกสนานในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการฟัง สิ่งที่คาดหวังในการเรียนก็คือให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการฟังเพลงมากขึ้นจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังที่ดีขึ้น  และมีมุมมองในการเรียนภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Reading Logs: Integrating Extensive Reading with Writing Tasks

โดย Tatiana Lyutaya,No.1, 2011
การอ่านสามารถเป็นกิจกรรมที่น่าประทับใจได้ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ(EFL)   หัวใจสำคัญของการเรียนคือ ทำตามหลักการของการอ่านมีดังนี้:
 1 นักเรียนเลือกหนังสือที่ตนสนใจ
 2.นักเรียนอ่านหนังสือตามระดับความรู้ของตน  
 3.นักเรียนไม่ยอมให้คำศัพท์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนมาทำลายความสุขในการอ่านไปได้
การพัฒนาการอ่านวรรณกรรมเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการเรียนภาษาอังกฤษ และเมื่อได้เรียนควบคู่ไปกับงานเขียนในรูปแบบของล็อก นักเรียนจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในกลยุทธ์การอ่าน, ส่วนประกอบ ต่างๆในงานเขียนและภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น ความสำเร็จในการการอ่านอย่างครอบคลุมนี้จะเผยแพร่ให้เห็นในล็อกโดยมีความเข้าใจตัวละคร รายละเอียดของเนื้อเรื่อง และผลสะท้อนว่าเรื่องที่อ่านมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์ของนักเรียนเองหรือไม่ อย่างไร จากการการเชื่อมโยงกันของอ่านวรรณกรรม นักเรียนจะได้แรงบรรดาลใจให้ความคิดเห็นและอยากแต่งเรื่องของตนเอง ดังนั้นนักเรียนจะได้ความมั่นใจในฐานะนักอ่าน นักเขียน และ ผู้เรียนอิสระ  การอ่านอย่างครอบคลุมนี้จะให้โอกาสนักเรียนไม่เฉพาะแต่ความเข้าใจว่าจะเรียนอย่างไรแต่ยังให้นักเรียนมีส่วนร่วมเรียนรู้อย่างจริงจังอีกด้วยเช่นกัน
(แปลจากบทความของ Tatiana Lyutaya, Forum,p.26-34)